หลักสูตรระดับปริญญาตรี
(หลักสูตรฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2564)
หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (ค.อ.บ.) 4 ปี สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (จัดการเรียนการสอนศูนย์สุพรรณบุรี) มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ด้านความรุ้และทักาะทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า ความรู้และทักษะในวิชาชีพครู อาชีพหลังจากสำเร็จการศึกษา ครู / อาจารย์ผู้สอนวิชาชีพด้านวิศวกรรมเครื่องกลในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน, วิทยากรฝึกอบรมในสถานประกอบการ, พนักงาน/ข้าราชการ ด้านวิศวกรรมเครื่องกลในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และการประกอบอาชีพอิสระ |
Facebook สาขาวิชา |
facebook สาขาวิชา Line กลุ่มสาขาวิชา |
หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (ค.อ.บ.) 4 ปี สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (จัดการเรียนการสอนศูนย์สุพรรณบุรี) มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ด้านการสอน ถ่ายทอดความรู้และทักษะด้านวิศวกรรมอุตสาหการ ไปสู่ผู้เรียน สถานศึกษา ชุมชน และสังคม มีความสามารถในการปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมอุตสาหการในสถานประกอบการและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม อาชีพหลังจากสำเร็จการศึกษา ครู / อาจารย์ผู้สอนวิชาชีพ ด้านอุตสาหการในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน, วิทยากรฝึกอบรมในสถานประกอบการ และประกอบอาชีพอิสระ |
|
|
Line กลุ่มสาขาวิชา |
หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (ค.อ.บ.) 4 ปี สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและโครงข่าย (จัดการเรียนการสอนศูนย์สุพรรณบุรี) มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ด้านการสอน การถ่ายทอดความรู้และทักษะ ด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและโครงข่าย ไปสู่ผู้เรียน สถานศึกษา ชุมชน และสังคม, มีความสามารถในการปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและโครงข่าย ในสถานประกอบการ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม อาชีพหลังจากสำเร็จการศึกษา ครู / อาจารย์ผู้สอนวิชาชีพด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและโครงข่าย ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน, วิทยากรฝึกอบรมในสถานประกอบการ และพนักงาน / ข้าราชการ ด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะโครงข่าย ในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน |
|
|
หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (ค.อ.บ.) 4 ปี สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (จัดการเรียนการสอนศูนย์สุพรรณบุรี) มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ หลักการออกแบบและพัฒนาโปรแกรม การเขียนโปรแกรม การเขียนและพัฒนาเว็บไซต์ การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชัน ระบบฐานข้อมูล การวิเคราะห์และออกแบบระบบ การโปรแกรมระบบสมองกลฝังตัว การควบคุมหุ่นยนต์อัตโนมัติ การติดตั้ง ดูแลระบบเครือข่าย และการรักษาความปลอดภัยในระบบเครือข่าย การออกแบบกราฟิกและแอนิเมชัน การผลิตสื่อมัลติมีเดีย และการสร้างสรรค์โลกเสมือนจริงด้วยเมทาเวิร์ส ฯลฯ อาชีพหลังจากสำเร็จการศึกษา 1. ครู อาจารย์ หรือผู้สอนด้านคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา |
facebook สาขาวิชา Line สาขาวิชา |
หลักสูตรระดับปริญญาตรี ต่อเนื่อง
(หลักสูตรฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566)
Facebook สาขาวิชา |
หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (อส.บ.) ต่อเนื่อง สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกล (จัดการเรียนการสอนศูนย์สุพรรณบุรี) มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ทักษะด้านเทคโนโลยีเครื่องกล ทักษะในเทคโนโลยีสมัยใหม่ ด้านกำลังงานของไหล ด้านระบบควบคุมอัตโนมัติที่ใช้งนงานอุตสาหกรรม การทำความเย็นและปรับอากาศ ด้านพลังงานและความร้อนและการฝึกประสบการณ์วิชาชีพและทักษะในวิชาชีพครู อาชีพหลังจากสำเร็จการศึกษา นักเทคโนโลยีด้านเทคโนโลยีเครื่องกลในองค์กรของรัฐและเอกชน, ผู้ประกอบการวิชาชีพอิสระทางด้านเทคโนโลยีเครื่องกล นักประดิษฐ์ คิดค้น สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมด้านเครื่องกล |
|
|
หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (อส.บ.) ต่อเนื่อง สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าอุตสาหกรรม (จัดการเรียนสอนศูนย์สุพรรณบุรี) มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ให้มีความเชี่ยวชาญวิชาชีพทางไฟฟ้าเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทันสมัย เพื่อให้มีสมรรถนะการปฏิบัติงานด้านไฟฟ้าจรงตามมาตรฐานวิชาชีพ ทักษะแนวคิดวิเคราะห์ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไฟฟ้าที่เหมาะสมต่อการดำเนินการในภาคอุตสาหกรรม อาชีพหลังจากสำเร็จการศึกษา ผู้ปฏิบัติงาน นักวิชาการ หรือผู้ช่วยนักวิจัย ด้านวิศวกรรมไฟฟ้าหรือที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีไฟฟ้าในหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน วิทยากร เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม ด้านวิศวกรรมไฟฟ้าหรือที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีไฟฟ้า ในหน่วยงาน |
|
|
|
facebook สาขาวิชา Line กลุ่มสาขาวิชา |
หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (อส.บ.) ต่อเนื่อง สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหการ (จัดการเรียนการสอนศูนย์สุพรรณบุรี) มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ด้านการออกแบบและการควบคุมเครื่องจักรกลในกระบวนการผลิตที่ทันสมัย, มีความสามารถทำงานวิจัย มีทักษะการคิด วิเคราะห์ เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในอุตสาหกรรม และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความคิดสร้างสรรค์ในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ อาชีพหลังจากสำเร็จการศึกษา ผู้ปฏิบัติงาน นักวิชาการ หรือผู้ช่วยนักวิจัย ด้านการออกแบบและควบคุมเครื่องจักรกลหรือที่เกี่ยวกับกระบวนการผลิตที่ทันสมัย ในหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน วิทยากร เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม ด้านานการออกแบบและควบคุมเครื่องจักรกลหรือที่เกี่ยวกับกระบวนการผลิตที่ทันสมัย ในหน่วยงานองค์กร หรือบริษัท |
|
|
หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (อส.บ.) ต่อเนื่อง สาขาวิชาวิศวกรรมสื่อสารและโครงข่าย (จัดการเรียนการสอนศูนย์สุพรรณบุรี) มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ทางด้านทฤษฎีและภาคปฏิบัติ มุ่งเน้นบัณฑิตนักปฏิบัติและสมรรถนะวิชาชีพตามข้อกำหนดมาตรฐานอาชีพ สาขาการสื่อสารโทรคมนาคม มีทักษะการคิด วิเคราะห์และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานด้านอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคม อาชีพหลังจากสำเร็จการศึกษา นักปฏิบัติการวิชาชีพสาขาสื่อสารโทรคมนาคมในองค์กรของรัฐและเอกชน และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมด้านสื่อสารโทรคมนาคม |
Line กลุ่มสาขาวิชา |
หลักสูตรระดับปริญญญาตรี หลักสูตรใหม่
(หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2565)
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ (จัดการเรียนการสอน ศูนย์สุพรรณบุรี) มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ มุ่งผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ที่มีสมรรถนะในการสร้าง ประกอบ และควบคุมเครื่องจักรกลอัตโนมัติ ที่มีคุณธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม อาชีพหลังจากสำเร็จการศึกษา 1. วิศวกรเมคคาทรอนิกส์ 2. วิศวกรระบบการผลิตอัตโนมัติ 3. ประกอบอาชีพอิสระ
|